คำว่า "ปังชา" ร้านทั่วไปใช้ในการโฆษณาได้ แต่ไม่ใช่ยกไปทั้งโลโก้

จากกรณีดราม่า การจดสิทธิบัตรคุ้มครองสิทธิทางปัญญา เครื่องหมายการค้า "ปังชา" ของร้านอาหารลูกไก่ทองที่กำลังเป็นประเด็นวิพาษ์วิจารณ์ในช่วงนี้ ล่าสุด นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ยืนยันว่า คำว่า ปังชา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ทุกคน ทุกร้านสามารถนำไปใช้ในการโฆษณาได้ เพราะที่กรมทรัพย์สินทางปัญญารับจดเครื่องหมายทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ ที่อ้างเป็นเจ้าของสิทธิ์ เป็นการคุ้มครอง เฉพาะโลโก้ และ คำที่อยู่ในรูปคำพูดจาก เครื่องสล็อต

หมายความว่า ผู้ที่ยื่นขอจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งรูปลูกไก่ พร้อมกับคำว่า "ปังชา" ถ้าจะมีความผิดจะต้องนำไปใช้ทั้งโลโก้ แต่ถ้าใช้เพียงคำว่า "ปังชา" อย่างเดียว ใครๆก็ใช้ได้

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ระบุด้วยว่า เช่นเดียวกับ คนที่ขายเมนู น้ำแข็ง กับชา หรือคล้ายกับขายขนมในลักษณะเหมือนกับเจ้าของ ที่จดเครื่องหมายการค้า ก็ยังสามารถขายได้ แต่ต้องไม่ใช้ภาชนะ ที่เหมือนกับในรูปของ ร้านลูกไก่ทอง เพราะ มีการจดสิทธิบัตรในการออกแบบเอาไว้ ส่วนที่มีข้อโต้แย้งว่า ทางผู้ประกอบการที่จดเครื่องหมายการค้าไม่ได้มีการสลักการใช้คำว่า "ปังชา" ยืนยันว่า

ทางกรมฯ รับจดเครื่องหมายการค้าให้การคุ้มครองทั้งภาพรวม ในเครื่องหมายการค้า รูปลูกไก่และ คำว่าปังชา ไม่ได้คุ้มครองเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หากจะเป็นการละเมิดก็ต้องนำไปใช้ทั้งโลโก้ ไม่ใช่แยกเฉพาะคำใดคำหนึ่ง

สอดคล้องกับ นางสาวทักษอร สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมาย กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า มี 2 ประเด็น ที่ร้านขนมทั่วๆไปควรทราบไว้เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในอนาคต คือ

 คำว่า "ปังชา" ร้านทั่วไปใช้ในการโฆษณาได้ แต่ไม่ใช่ยกไปทั้งโลโก้

1.ระวังการละเมิด "เครื่องหมายการค้า" รูปนี้ ที่ประกอบด้วย … ภาษาอังกฤษคำว่า Pang cha บรรทัดบน ตัวอักษรภาษาอังกฤษ g ตรงกลาง และคำว่า The best Thai tea ด้านล่างตัว g และโลโก้รูปทรงไข่ที่วงกลมตัวอักษรตามที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้า และห้ามนำไปคัดลอก ดัดแปลง และทำซ้ำ หรือนำไปใช้ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าเป็นร้านเดียวกัน เน้นย้ำว่าในทางกฎหมาย เลขที่คำขอ 180140387 คุ้มครองเฉพาะว่า “PANG CHA” ฟร้อนนี้ รูปแบบนี้เท่านั้น ดังนั้นการนำมาใช้ก็ต้องดูว่า ร้านที่นำไปใช้มีเจตนาทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดหรือไม่ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์หากคิดว่าตนเองเสียหาย ก็สามารถนำสืบ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้

2. ภาชนะที่ปรากฏในรูปเมนูปังชาของร้าน ทางร้านมีการจด "สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์" บุคคลอื่นๆไม่สามารถลอกเลียนแบบ

แง้มธุรกิจ "ร้านลูกไก่ทอง" ดราม่าเมนูปังชา ส่องกำไรปี 65 พุ่ง

แจงแล้วดราม่า "ปังชา" ร้านดังขอน้อมรับทุกคำติชม รับสื่อสารคลาดเคลื่อน!

ส่วนประเด็นที่ เจ้าของร้านลูกไก่ทองให้ทนายยื่นโนติส เรียกร้องค่าเสียหายกับ ร้านขนมที่จ.เชียงราย และ จ.สงขลา เรียกค่าเสียหายหลักแสนถึง 100 ล้านบาท เหตุละเมิดใช้คำว่า ปังชา ในการโฆษณาเมนู และ ตั้งชื่อร้าน ก็อาจจะเป็นความเชื่อโดยสุจริตว่าว่า เขามีสิทธิ์ที่จะห้ามคนอื่นใช้ ความว่า “ปังชา” เน้นย้ำร้านค้าอื่นๆที่ใช้คำว่า "ปังชา" สามารถใช้คำนี้ในการโฆษณาต่อไปได้

ดูความต่างระหว่างจดสิทธิบัตร และ ความลับทางการค้า

“ปังชา” ที่เป็นดราม่า จดสิทธิบัตรแบบใด? รู้จักทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท

รู้จัก ลูกไก่ทอง ร้านอาหารคาว-หวานประยุกต์ กับดราม่าเมนูปังชา

By admin

Related Post